โครงสร้างหลังคา มีส่วนประกอบและหน้าที่อะไรบ้าง?
โครงสร้างหลังคา นี้ถือ เป็นส่วน สำคัญ อย่างหนึ่ง ที่ผู้ก่อสร้างจะต้องคำนึงถึง ความปลอดภัย ของผู้อยู่อาศัย และต้องคำนวณถึงเรื่องการรับน้ำหนักของหลังคา ว่าควรใช้ วัสดุ อะไรมาเป็น โครงสร้าง เพื่อการ รับน้ำหนัก หลังคา ให้คงทน และมีความสวยงาม ดังนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของ โครงสร้างหลังคา กันเลยดีกว่าจ้า
HDWatsadu พร้อมให้คำปรึกษาการใช้งาน และเสนอราคาด่วน ด้วยพนักงานขายมืออาชีพ
โทร.061-450-9292 , 061-590-9292 จันทร์-เสาร์ 8.00-18.00น. หรือ Line ID : @hdwatsadu
โครงหลังคา คืออะไร ?
โครงหลังคา เป็นโครงที่ทำหน้าที่ รับน้ำหนัก ของวัสดุ มุงหลังคา ให้มีความแข็งแรง และ มั่นคง รวมถึงยัง ทำหน้าที่ ยึดตัวหลังคาบ้าน ให้เชื่อมต่อ กับ โครงสร้างเสาและคาน ของตัวบ้าน โดยควรเลือก โครงหลังคาที่มี ความคงทน ต่อ ทุกสภาพอากาศ รวมถึงควรติดตั้ง ให้ถูกต้อง เพื่อให้หลังคาออกมา ดูเรียบร้อย และ สวยงาม
โดย โครงสร้างหลังคาที่นิยมในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- โครงหลังคาไม้
- โครงหลังคาเหล็ก
- โครงสร้างหลังคาสำเร็จรูป
โครงหลังคาไม้
นิยมใช้กันมากในสมัยก่อน เพราะต้นทุนของวัสดุต่ำ ขั้นตอนการปลูกสร้าง ก็ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องใช้เครื่องมือมาก แต่ในปัจจุบัน บ้านเรือนส่วนใหญ่จะปลูกเป็นตึก ประกอบกับไม้เป็นวัสดุที่หายาก และมีราคาแพงขึ้น โดยเฉพาะไม้คุณภาพดี ที่ให้ความแข็งแรงทนทาน และคงรูปก็ยิ่งหายาก และมีราคาแพง นอกจากนี้ โครงหลังคาไม้ ยังอาจมีปัญหาของปลวกเกิดขึ้นได้ในภายหลัง ฉะนั้นโครงหลังคาไม้ จึงไม่เป็นที่นิยมทำกันในปัจจุบัน สำหรับอาคารบ้านเรือนทั่วไปที่เป็นตึก แต่ยังมีใช้กันอยู่สำหรับบ้านไม้
โครงหลังคาเหล็ก
เป็นโครงหลังคาที่นิยม ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน เพราะเหล็กเป็นวัสดุที่หาง่ายใน ท้องตลาด อีกทั้งมีรูปแบบ และขนาดต่าง ๆ ให้เลือก มากมาย เพื่อให้เหมาะสม กับการรับน้ำหนัก และรูปทรง ที่แตกต่างกัน ของบ้านเรือนแต่ละหลัง นอกจากนี้ เหล็กยังเป็นวัสดุ ที่ให้ความแข็งแรง และความคงรูป เป็นอย่างดี ปราศจาก ปัญหาเรื่องปลวก ในแง่ของความคงทน และอายุการใช้งานนั้น เหล็กที่ผ่านกรรมวิธีป้องกันสนิม เช่น การชุบสังกะสี หรือการเคลือบสีอย่างดี จะมีอายุการใช้งาน ยาวนานหลายสิบปี ในสภาพใช้งานปกติ
โครงสร้างหลังคาสำเร็จรูป
เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรม เพื่อให้เป็นทางเลือกใหม่ในการสร้างหลังคาที่ปลอดภัยและช่วยให้เจ้าของบ้านประหยัดทรัพยากรให้ได้มากที่สุด เป็นโครงหลังคาที่ผลิตจากเหล็กกำลังดึงสูง G550 ซึ่งสูงกว่าเหล็กรูปพรรณถึง 2 เท่า ติดตั้งด้วยระบบสกรู (Screw) ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสนิมน้อยกว่าการเชื่อมและสามารถตรวจสอบด้วยตาเปล่าได้ ตัววัสดุเหล็กถูกเคลือบโลหะป้องกันสนิมจากโรงงานไม่ต้องทาสีกันสนิมที่หน้างานและไม่ต้องเชื่อม ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานและช่วยประหยัดค่าโครงสร้างบ้านจำพวกเสาและคานบางส่วน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการทำโครงสร้างบ้านลดลงตามไปด้วย
ส่วนประกอบและหน้าที่ของโครงสร้างหลังคา มีดังนี้
- แป หรือ ระแนง (Batten)
– ทำหน้าที่รองรับกระเบื้องหลังคา ประเภทต่าง ๆ มีลักษณะ เป็นไม้ สี่เหลี่ยม จตุรัส ที่วางอยู่บนจันทัน วางห่างกันตามขนาด ของกระเบื้อง ที่ใช้โดยวาง ขนานกับแนวอกไก่ - จันทัน (Rafter)
– ส่วนที่วางเอียง ตามลักษณะ ของหลังคา วางอยู่บนอเสและอกไก่ มีหน้าที่รองรับแป สำหรับรับกระเบื้องมุงหลังคา โดยปกติจะวางเป็นระยะทุก 1 เมตร มีทั้งวางบนหัวเสา และ ไม่ได้วางพาดบนหัวเสา ซึ่งระยะห่างนั้นก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก ของวัสดุ มุงหลังคาและ ระยะแป - อกไก่ (Ridge)
– วางพาด อยู่บนดั้ง บริเวณสันหลังคา เพื่อรับน้ำหนัก จันทันตามแนวสันหลังคา อยู่บริเวณส่วนกลางของหลังคา รวมถึงมีหน้าที่ แบกรับน้ำหนักของจันทัน ทุกตัว ทั้ง 2 ด้าน - ดั้ง (King Post)
– เสาเสริม ที่คอยทำหน้าที่รองรับอกไก่ เมื่อตำแหน่งของอกไก่ วางไม่ตรงกัน เสาของอาคาร - ขื่อ ( Tie Beam)
– เมื่อดั้งเข้ามาแบกรับน้ำหนัก และถ่ายน้ำหนัก ต่อไป ยังคาน จึงต้องมี ขื่อ เพื่อแบกรับดั้ง และถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาอาคาร ต่อไป - อเส (Stud Beam)
– คานชั้นบนสุด ของอาคาร ที่ยึดปลายเสา ตอนบน เพื่อทำให้โครงสร้าง มีความแข็งแรง และ ถ่ายเทน้ำหนักลงสู่เสา มีหน้าที่ช่วย แบกรับน้ำหนัก ของจันทัน แต่ละตัว - เชิงชาย
– มีหน้าที่บดบัง ความไม่สวยงาม จากปลายชายคา ของจันทันทุกตัว ป้องกันการผุ ของไม้ ที่ปลายจันทัน จากการโดนแดด และ ฝน
โดยการเลือก ไม้เชิงชาย นั้น ก็ถือว่าสำคัญเช่นกัน ควรเลือกที่มีคุณสมบัติ คงทน แข็งแรง เพราะด้วยหน้าที่ ที่ต้องคอยป้องกันจันทัน จากสภาพอากาศต่าง ๆ
Cr.ตราเพชร
แล้วหลังคาคอนกรีต หรือเรียกว่า “กระเบื้องคอนกรีต” เหมาะกับบ้านสไตล์ไหนบ้าง ?
สไตล์การตกแต่งบ้านของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป อยู่ที่ความชอบส่วนตัว และคำแนะนำ ต่าง ๆ นา ๆ แต่วัสดุที่เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของบ้านนั้น ก็คือ “หลังคาบ้าน” นั้นเอง ซึ่งการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสไตล์บ้านนั้นก็ไม่ได้ยากเลยค่ะ เดี๋ยววันนี้เราจะพาไปดู บ้านสไตล์ไหน ที่เหมาะกับ “กระเบื้องคอนกรีต” กัน ไปค่ะ ไปดูกันเลย
แล้วกระเบื้องคอนกรีตที่ว่ามานี้ มีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง?
กระเบื้องคอนกรีตที่มีรูปลอนโค้งแบบกาบกล้วย ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน สวยงาม เป็นเอกลักษณ์ แกร่งทน รับน้ำหนักได้อย่างดีด้วยแกนกลาง 2 แนว และออกแบบให้มีรางกันน้ำ 2 แนว และบัวกันน้ำ 3 ชั้น ช่วยให้ระบายน้ำได้เร็ว และยังมีเฉดสีให้เลือกมากมายเลย
กระเบื้องคอนกรีตรูปลอนโค้งสูง ปลายกระเบื้องโค้งมน ทำให้บ้านดูมีเสน่ห์ สไตล์อิตาลี งดงาม โดดเด่น ด้วยมิติจากแสงและเงา มีแกนกลาง 2 แนว ทำให้กระเบื้อง สามารถ รับแรงได้อย่าง ดีเยี่ยม และมีร่องราง ที่ลึกช่วยให้ระบายน้ำได้ดี กว่ากระเบื้อง ทั่วไป อีกทั้ง ยังมีบัวกันน้ำ 3 ชั้น กว้างกว่าทำให้ กันน้ำไหลย้อนได้ดี
เรียบหรูสไตล์โมเดิร์น สวยงามทุกมุมมอง พ่นสีด้วยระบบ Wet on Wet ทำให้สีติดคงทนยาวนาน และออกแบบให้มีบัวกั้นน้ำ 3 ชั้น เพื่อป้องกันการไหลย้อนของน้ำฝน ทั้งยังแข็งแรง ทนทาน ด้วยแกนกลางรับแรง 2 แนว มาพร้อมความโดดเด่นไม่ซ้ำใคร 2 สไตล์
แล้วบ้านสไตล์แบบไหนบ้าง ที่เหมาะกับกระเบื้องคอนกรีต ในแต่ละประเภท?
แบบบ้านสไตล์ร่วมสมัย (Contemporary Style)
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ร่วมสมัย เพราะฉะนั้นมันคือการผสมผสานกันอย่างลงตัวของสไตล์ คลาสสิค และ สไตล์โมเดิร์น โทนสีที่เป็นที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นโทนสีขาว เทา ครีมหรือน้ำตาล ส่วนทรงหลังคาก็มักจะเป็น ทรงจั่ว ทรงปั้นหยา และมุงกระเบื้องที่มีรูปแบบลอนโค้งสวยงาม เช่น กระเบื้องคอนกรีต CT Venice และกระเบื้องคอนกรีต CT เพชร ก็จะช่วยให้บรรยากาศของบ้านดูเป็นกันเองและอบอุ่น
สไตล์โมเดิร์น (Modern Style)
หลายคนที่ได้ยินว่า บ้านสไตล์โมเดิร์น ก็จะนึกถึงบ้านทรงกล่องกับหลังคาแบน ซึ่งจะไม่มีการปูกระเบื้องหลังคา แต่ในความเป็นจริงนั้น การออกแบบให้หลังคาเป็นแบบเพิงแหงน ก็ช่วยให้บ้านออกมาโมเดิร์นได้ โดยเลือกมุงหลังคาแบบเรียบ อย่าง กระเบื้อง Adamas และใช้สีโทนขาว เทา หรือดำ จบด้วยการออกแบบส่วนอื่นของบ้านให้รู้สึกโปร่ง โล่ง สบายตา เพียงเท่านี้บ้านก็ออกมาโมเดิร์นสมใจแล้ว
**โดยในส่วนนี้ต้องอย่าลืมคำนึงถึงองศาความชันและโครงหลังคาด้วยว่า สามารถรับไหวไหม โดยความชันขั้นต่ำของกระเบื้อง Adamas อยู่ที่ 30 องศา
สไตล์นอร์ดิก (Nordic House Style)
รูปแบบบ้านที่กำลังได้รับความนิยม ด้วยดีไซน์สวยงาม เรียบง่าย ดูผ่อนคลายสบายตา โดยหัวใจหลักของหลังคาบ้านสไตล์นอร์ดิก คือหลังคาแผ่นเรียบที่จะเข้ามาตอบโจทย์ความเรียบง่าย โดยน้องเพชรขอแนะนำเป็น กระเบื้อง Adamas เลย รวมถึงโทนสีที่ควรเลือกสีธรรมชาติเป็นหลักเพื่อให้รู้สึกกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมภายนอก และอีกความโดดเด่นเลยก็คือการเลือกใช้หลังคาจั่วสามเหลี่ยม ไร้ชายคา นั่นเอง
Cr.ตราเพชร
และนี้ก็เป็นข้อมูลเบื้องต้น แต่ทั้งนี้การออกแบบบ้านนั้นถือเป็นเรื่องที่ไม่มีผิด มีถูก ขึ้นอยู่กับความชอบด้วยเช่นกัน แต่ก็อย่าลืมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจซื้อวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดตามมาด้วยนะคะ
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ HDWatsadu
โทร.061-450-9292 หรือ 061-590-9292 HD
จัดส่งไวถึงหน้างาน พร้อมจัดส่งทุกพื้นที่
ช่องทางติดตามผลงาน
Website : www.hdwatsadu.com
FB : HD Watsadu
IG : hdwatsadu
Line : @hdwatsadu
เราพร้อมบริการคุณลูกค้า