ความแตกต่างระหว่าง กาวอะคริลิค กับ กาวซิลิโคน

ความแตกต่างระหว่าง กาวอะคริลิค กับ กาวซิลิโคน และวิธีการเลือกใช้ให้ถูกต้อง

ก่อนอื่นนพูดถึงกาว อะคริลิคซีแล้นซ์  หรือ อะคริลิก ยาแยว หรือภาษาช่าง เรียกง่ายๆว่าแดร็ป  หลายท่านอาจไม่รู้คืออะไร ใช้งานยังไง? แล้วซิลิโคนละ เหมือนกันไหม  เอาล่ะ วันนี้เราก็จะมาสรุปให้เห็นชัดๆเลย

อะคริลิก ยาแยว อะคริลิคซีแล้นซ์ , แดร็ป

อย่างแรก กาวอะคริลิค คือ กาวยาแนวที่มีส่วนประกอบหลักมาจากโพลีเมอร์อะคริลิค (คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน) ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย แต่เมื่อกาวแห้งและแข็งตัวแล้วจะไม่ละลายน้ำ อะคริลิคมีคุณสมบัติ ยืดหยุ่นและรับแรงได้น้อย แต่สามารถทาสีทับและขัดแต่งผิวงานได้ ไม่ทนต่อแสงยูวี เหมาะสำหรับงานปิดรอยและขัดตกแต่งผิวงานภายในอาคาร สามารถเก็บงานได้สวยงาม

เหมาะสำหรับงานปิดรอยเพราะสามารถทาสีทับได้ ในปัจจุบัน อะคริลิกยาแนวที่ขายในอยู่ในท้องตลาด มีหลายระดับราคา และมีหลายความยืดหยุ่นให้เลือก ซึ่งความยืดหยุ่นเกิดจากการผสมสารเพื่อเพิ่มคุณสมบัติต่างๆ เข้าไป นอกจากความยืดหยุ่นแล้วยังมีการเพิ่มสารคุณสมบัติต่างๆ เข้าไปด้วย เช่น ความทนต่อรังสี UV  สารป้องกันเชื้อรา ถึงแม้บางสูตรจะสารเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับ อคริลิคยาแนวแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสในการแตกร้าวได้เช่นกัน จึงไม่เหมาะกับการใช้ในส่วนที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ หรือบริเวณที่มีแรงสั่นสะเทือน

จุดเด่นของอะคริลิกยาแนว

  • คือสามารถขัดแต่งผิวงานได้และทาสีทับได้
  • โดยอะคริลิกยาแนวนี้เหมาะสำหรับงานทั่ว ๆ ไป เช่น งานปิดรอยแตกร้าวของผนัง แนวเชื่อมต่อของกรอบประตู หน้าต่างกับผนัง รอยต่อสุขภัณฑ์ เป็นต้น
  • ข้อด้อยของอะคริลิด ยาแนว คือ ไม่ทนทานต่อรังสี UV  หากใช้งานภายนอกอาคารจะมีอายุการใช้งานที่สั้น และเนื่องจากอะคริลิก
  • ยาแนวมีน้ำเป็นตัวทำละลายจึงไม่เหมาะสำหรับการใช้ในพื้นที่ที่เปียกชื้น เพราะจะทำให้เนื้ออะคริลิกไม่แข็งตัว อะคริลิก ยาแนวนี้สามารถใช้ได้กับทุกพื้นผิว ซึ่งมีสีให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับวัสดุนั้นๆ

ซิลิโคน

ซิลิโคน คือ กาวยาแนวที่มีส่วนประกอบหลักมาจากโพลีเมอร์ซิลิโคน หลังจากแห้งและแข็งตัวจะมีลักษณะแข็งและมีความยืดหยุ่นสูง มีผิวมันวาว กาวซิลิโคนถูกใช้ทั้งในงานทั่วไปในบ้านเรือน และในงานอุตสาหกรรม

กาวซิลิโคนมีทั้งหมด 2 ประเภท คือ กาวซิลิโคนชนิดเป็นกรด (Acetic Cure Silicone) และกาวซิลิโคนชนิดเป็นกลาง (Neutral Cure Silicone)

  1.  โดยกาวซิลิโคนชนิดเป็นกรดหรือ Acetic Cure Silicone จะมีลักษณะเฉพาะตัว คือ ในขณะใช้งานจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวเหมือนน้ำส้มสายชู เนื่องจากสารระเหยที่เป็นส่วนผสม ซึ่งมีผลทำให้กาวชนิดนี้แห้งเร็ว และมีความแข็งแรงสูง แต่อาจมีฤทธิ์กัดกร่อนวัสดุที่นำไปติดได้ เนื่องจากกาวมีความเป็นกรด จึงนิยมในการนำไปใช้ติดกระจกที่มีความทนทานต่อสารเคมีสูง
  2. ในส่วนของกาวซิลิโคนชนิดเป็นกลาง (Neutral Cure Silicone) จะมีลักษณะที่แห้งตัวช้ากว่า มีความแข็งแรงน้อยกว่า แต่มีความยืดหยุ่มสูงกว่ากาวซิลิโคนที่เป็นกรด มีกลิ่นเหม็นน้อยกว่า และไม่มีฤทธิ์กัดกร่อนวัสดุ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ กาวซิลิโคนชนิดออกไซม์ (Oxime-Based Silicone) และกาวซิลิโคนชนิดอัลโคซี่ (Alcoxy-Based Silicone)

ความแตกต่างระหว่าง กาวอะคริลิค กับ กาวซิลิโคน และวิธีการเลือกใช้ให้ถูกต้อง

ซิลิโคนและอะคริลิค เป็นกาวที่ถูกใช้ในการยาแนวปิดช่องว่าง หรือรอยต่อ ภายในบ้าน หรืออาคารต่าง ๆ โดยมีลักษณะภายนอกที่ใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก แต่ในการเลือกกาวยาแนวชนิดใดชนิดหนึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยหลาย ๆ อย่าง และการนำไปใช้งานเป็นหลัก ดังนั้น เราจึงสรุปความแตกต่างและการใช้งาน ระหว่างซิลิโคนและอะคริลิค มาเป็นข้อๆ ดังนี้

ความยืดหยุ่น

ซิลิโคน ยืดหยุ่นดีกว่าอะคริลิค ซิลิโคนยืดหยุ่นประมาณ 25% ในขณะที่ อะคริลิคยืดหยุ่นประมาณ 12% และรับแรงได้น้อยกว่าซิลิโคน จึงไม่แนะนำให้ใช้อะคริลิคในส่วนที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ หรือบริเวณที่มีแรงสั่นสะเทือน

การยึดเกาะ

ซิลิโคนยึดเกาะได้ดีกับพื้นผิวเรียบ เช่น กระจก เซรามิค ไฟเบอร์กลาส ไม้ และอลูมิเนียม ใช้ยาแนวรอยต่อระหว่างอะลูมิเนียมกับกระจกได้ดี ซิลิโคนไม่เหมาะกับพื้นผิวที่มีฝุ่นเกาะ เช่น ผิวปูน ผิวคอนกรีต เพราะตัวซิลิโคนจะไม่จับกับผิววัสดุแต่จะไปจับกับฝุ่นแทนทำให้ไม่มีแรงยึดเกาะ หากจะนำซิลิโคนมาใช้งานประเภทนี้ก็ต้องทำความสะอาดพื้นผิวให้ปราศจากฝุ่นและต้องทาน้ำยารองพื้นก่อนพื่อเพิ่มแรงยึดเกาะ ซึ่งมีความยุ่งยากในการใช้งานและเพิ่มค่าใช้จ่าย

ในขณะที่อะคริลิค สามารถใช้กับวัสดุทั้งผิวเรียบและผิวขรุขระได้ เหมาะสำหรับใช้ยาแนวรอยต่อระหว่างผนังปูนกับวงกบประตู หน้าต่าง ไม้ อลูมิเนียม

ทาสีทับ

ซิลิโคนทาสีไม่ติด จึงมีวางจำหน่ายหลายสีให้เลือกตามความเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น สีใสใช้กับงานกระจก สีขาวใช้กับงานสุขภัณฑ์ สีดำใช้กับพื้นผิวที่มีสีเข้ม เช่น ท็อปเคาน์เตอร์ครัวที่เป็นหินแกรนิต เป็นต้น  ในขณะที่ อะคริลิคเมื่อแห้งแล้ว สามารถขัดแต่งผิวงาน และทาสีทับได้ จึงเหมาะกับการยาแนวรอยร้าวที่มีขนาดเล็ก ๆ ตามผนังบ้านที่ต้องการทาสีทับ

กันน้ำ

อะคริลิค มีส่วนประกอบที่เป็นสูตรน้ำ ทำให้น้ำสามารถซึมผ่านอะคริลิคได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้อะคริลิคในบริเวณที่เปียกหรือแฉะ อะคริลิคจึงเหมาะกับการใช้งานภายในอาคาร และงานอุดรอยต่อเพื่อความสวยงาม หากต้องการยาแนวใช้งานในห้องน้ำ ห้องครัว และบริเวณที่โดนน้ำ แนะนำให้ใช้ซิลิโคน ซึ่งจะมีสูตรพิเศษสำหรับยาแนวสุขภัณฑ์ สามารถป้องกันเชื้อราได้

ทนแดด

ซิลิโคนมีความทนทานต่อสภาพอากาศและรังสียูวีได้ดีมาก ในขณะที่ อะคริลิคไม่ทนแดด มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมได้ต่ำ  ฉะนั้น กาวอะคริลิคจึงเหมาะสมกับแก่การใช้งานภายในอาคารเท่านั้น ส่วนซิลิโคน สามารถใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าอะคริลิค จึงเหมาะกับการยาแนวแผงโซลาเซลส์ หลังคาเมทัลชีท ประตู-หน้าต่าง

ขอบคุณข้อมูลจาก tha.sika.com

อะคริลิคซีแล้นซ์ , แดร็ป ซื้อได้ที่ไหน

รายละเอียดสินค้า อะคริลิคซีลแลนท์ Acrylic Sealant กาวอะคริลิค กาวซิลิโคน ซิลิโคน อะคริลิค แด๊ป ยาแนวกระเบื้อง

  • การหดตัวต่ำ กันน้ำได้ดี
  • ทาสีทับได้ ป้องกันรังสี UV
  • ทนทุกสภาพอากาศ
  • ได้รับ มาตรฐาน สากล
  • ใช้ได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น สำหรับประตู & หน้าต่าง / เคาน์เตอร์กระจก
  • อายุการใช้งานยาวนาน รับประกัน 5-10 ปี ไม่หลุดร่วง
  • 5 นาทีเวลาปลอดตะขอ สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ใน 30 นาที
  • ความสามารถในการยืดหยุ่น

ลักษณะต่าง ของ กาวอะครีลิค

  1. Porcelan white มีสารไทเทเนียมไดออกไซด์ ซึ่งจะไม่เปลี่ยนสี
  2. คอลลอยด์อยู่ใกล้กับยางซิลิโคน รู้สึกลื่นหลังจากรักษาแล้วมีความเงางาม
  3. ผลิตภัณฑ์นี้ใช้แป้งเบา มีความจุสูงและแรงโน้มถ่วงเฉพาะแสง
  4. หดตัวน้อย ทนน้ำได้ดี

การใช้งาน

  1. กันน้ำและกันสนิมของกระเบื้องเหล็กสี
  2. การปิดผนึกกันน้ำของสายสะพายหน้าต่างและกระจก
  3. การติดตั้งประตูและหน้าต่างต่างๆ ฝาปิด กันน้ำ และปิดผนึก
  4. การปิดผนึกกันน้ำของผนังภายนอกและภายในอาคารสูง

การเก็บรักษาและอายุการเก็บรักษา.

18 เดือนนับจากวันที่ผลิตเมื่อเก็บไว้ที่หรือต่ำกว่า 27C(80*F) ในต้นฉบับ

ภาชนะที่ยังไม่ได้เปิด แพ็คเกจ 300 มล./ลิตร

ข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์

1. กาวที่ใช้น้ำต้องได้รับการป้องกันจากแสงและเก็บไว้ในสภาพแวดล้อมภายในที่ระบายอากาศ-

ที่อุณหภูมิ 5-40 องศาเซลเซียส